สวิตฯไม่ใช่ประเทศแรกที่ทำนาฬิกาค่ะ ประเทศที่เป็นผู้บุกเบิกตัวจริงนั้นได้แต่อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ประเทศเหล่านี้ต่างผลิตนาฬิกาเพื่อเป็นเครื่องประดับสูงค่า สำหรับชนชั้นเจ้านายและราชวงศ์ รวมทั้งผู้ดีมีเงิน หรือไม่ก็เพื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากประเทศสวิตฯไม่เคยมีเจ้าขุนมูลนายก็เลยไม่เคยสนใจในเรื่องการทำนาฬิกามาแต่ไหนแต่ไร
แต่การผลิตนาฬิกาเริ่มเป็นที่แพร่หลายก็ที่เมืองเจนีวา (บ้านที่สองของรจนา) นี่แหละค่ะ โดยเริ่มในราวศตวรรษที่ ๑๗ โดยช็อง คาลแว็ง (Jean Calvin) ผู้สั่งห้ามการแสดงออกซึ่งความร่ำรวย (มีอย่างนี้ด้วยนิ) และบังคับให้ผู้ผลิตอัญมณีเปลี่ยนจากการทำเครื่องประดับอันล้ำค่าไปหัดทำนาฬิกาแทน
เจนีวาก็เลยกลายเป็นศูนย์กลางของการออกแบบและการตลาดทั้งก่อนและหลังที่จะกลายเป็นประเทศสหพันธรัฐสวิสในปี ค.ศ. ๑๘๑๕ ถึงตอนนั้นการผลิตก็ขยายตัวไปยังมณฑลอื่น ๆ โดยเฉพาะมณฑลนูชาเต็ล (Neuchâtel)
ช่างนาฬิกาสวิสต่างเดินทางไปศึกษาหาความรู้ในประเทศอื่นและไปฝึกทักษะฝีมือด้วย ช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คนหนึ่งคือ Abraham-Louis Breguet (1747-1823) เกิดที่นูชาเต็ล ไปอบรมที่แวร์ซายล์ และทำมาหากินในปารีสหลังจากไปอยู่ลอนดอนนานหลายปี เบรเกะต์นี้ถือว่า ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยเลยค่ะ แต่รจนาจะไม่เล่ามากไปกว่านี้นะคะ
ช่างประดิษฐ์ชาวสวิส (โดยเฉพาะชาวเจนีวา) ถือว่าอยู่แนวหน้าของการประดิษฐ์คิดค้น และยังทำเป็นพ่อค้าแม่ขายที่เก่งกาจอีกด้วย นับแต่เริ่มทำนาฬิกา ผู้ประดิษฐ์สวิสก็เน้นการส่งออกเป็นหลัก ทำให้มีพ่อค้าที่ชำนาญเรื่องการขายนาฬิกาโดยเฉพาะ (ปัจจุบันนาฬิกาสวิสส่งออกถึง ๙๕ % ของการผลิต)ตอนแรก ๆ ช่างนาฬิกาก็เลียนแบบ (หรือขโมยลิขสิทธิ์) รูปแบบนาฬิกาฝรั่งเศสและอังกฤษค่ะ โดยทำออกมาแบบถูก ๆ แต่ใช้เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และความเป็นนักการค้าที่เก่งกว่า
พออุตสาหกรรมนาฬิการุ่งเรืองดี ผู้ประดิษฐ์ชาวสวิสก็เลิกเลียนแบบ และหันมาออกแบบเองค่ะ (ตอนหลังมีไทยแลนด์ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลียนแบบต่อบ้าง เข้าทำนอง กงกรรมกงเกวียน) ชิ้นส่วนนาฬิกาต่าง ๆ นั้นมักจะตามบ้าน (รับเหมา) หรือในโรงงานเล็ก ๆ ในหมู่บ้านรอบมณฑลเจนีวา โดยใช้ระบบที่เรียกว่า "รับงานไปทำที่บ้าน (homeworking)" เหมือนกับบ้านเราเหมือนกันนะคะ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกส่งไปให้ช่างฝีมือในเจนีวาเพื่อประกอบเป็นนาฬิกาในที่สุดค่ะ
กล่าวกันว่า ราคาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของนาฬิกานั้น มีมูลค่าจิ๊บจ๊อยมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด ที่แพงที่สุดก็คือ ค่าแรงงานช่างฝีมือที่ต้องประดิษฐ์ประดอย ใช้เวลาประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ อย่างประณีตที่สุด แม่นยำที่สุด บางครั้งต้องนำชิ้นส่วนที่เล็กจนต้องใช้แว่นขยายประกอบเข้าใจตัวเรือนเล็กจิ๋วหรือบางเฉียบ และนาฬิกาส่วนใหญ่จะใช้ชิ้นส่วน ๒๐๐-๓๐๐ ชิ้น (บางเรือนใช้ถึง ๑,๕๐๐ กว่าชิ้นค่ะ) สิ่งนี้แหละค่ะ ที่ทำให้นาฬิกายี่ห้อดี ๆ ถึงแพงเหลือใจ ไม่ใช่เพราะประดับเพชรประดับทองสักเท่าไร (แต่ก็มีส่วนนิ) .... ช่างฝีมือสวิสนั้นได้ค่าแรงเป็นชั่วโมงค่ะ และชั่วโมงไม่ใช่ร้อยกว่าบาท แต่เป็นพันค่ะ
แต่ก่อนนี้ นาฬิกายังไม่ใช่ของประดับร่างกาย (หรือข้อมือ) แต่เป็นของประดับบ้าน นาฬิกาข้อมือนั้นเพิ่งมาเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ ๒๐ นี่เอง แต่ก่อนก็ใช้วิธีห้อยกับสายสร้อย พกในกระเป๋า หรือแขวนไว้กับเข็มขัด เป็นต้น ในสมัยก่อนนั้น นาฬิกาถือเป็นอัญมณีประดับกายพอ ๆ กับเป็นที่บอกเวลาค่ะ
จุดเด่นของนาฬิกาแบบเจนีวาก็คือ การตกแต่งค่ะ ความสวยงามของนาฬิกาสวิส (เจนีวา) นี้ทำให้เครื่องบอกเวลานี้มีความดึงดูดต่อสายตา อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสแซงหน้าอังกฤษในที่สุดในตอนกลางศตวรรษที่ ๑๙ แล้วก็มีคู่แข่งสำคัญที่ช่วงเดียวกัน คือ ช่างประดิษฐ์นาฬิกาอเมริกันที่สามารถผลิตนาฬิกาที่มีความแม่นยำได้ทีละจำนวนมาก ๆ (เหมือนปั๊มออกมา) และชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนได้ คู่แข่งนี้ทำให้การส่งออกนาฬิกาสวิสในช่วงนั้นตกลงถึง ๗๕% ภายในช่วงสิบปี
ด้วยเหตุนี้เองที่ประเทศสวิตฯจึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เน้นความแม่นยำ โดยผลิตเครื่องจักรที่มีความสามารถสูง แล้วก็เพิ่มของแถมจูงใจคนซื้อ เช่น มีบอกวันที่และเดือน รวมทั้งจับเวลาได้ บริษัท Rolex เป็นผู้ผลิตนาฬิกาเรือนแรกที่กันน้ำได้ในช่วงทศวรรณ ๑๙๒๐ ค่ะ
พอมาถึงศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงแห่งการปฏิวัติด้านนาฬิกา มีการคิดค้นนาฬิกาคว้อตซ์ที่เมืองนูชาเต็ล Neuchâtel (ปี ค.ศ. ๑๙๖๗) แต่ผู้ประดิษฐ์สวิสกลับหัวไม่ไวเท่าไร ปล่อยให้ญี่ปุ่นและอเมริกานำเทคนิคนี้ไปใช้ประโยชน์เสียก่อนอย่างน่าเสียดาย ช่วงนั้น ผู้ประดิษฐ์สวิสมุ่งไปที่การวิจัยและพัฒนาในการสร้างนาฬิกาแบบกลไก (ไขลาน) มากกว่า ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ค่ะ ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสแทบล่มสลายม้วนเสื่อไปจากวงการเลยเลยทีเดียว...และพวกเราเองก็คิดถึงนาฬิกาคว้อตซ์คู่กับนาฬิกาญี่ปุ่นเสียมากกว่า
แต่ดวงยังดีค่ะ ที่ผู้ผลิตชาวสวิสยังรู้ตัวก่อนจะสายเกินไป ได้มีการพยายามปฏิวัติอุตสาหกรรมนาฬิกาเสียใหม่ โดยทำให้นาฬิกานั้นกลายเป็นเครื่องหมายแห่งแฟชั่น มีการออกแบบและผลิตนาฬิการาคาถูก ยี่ห้อ Swatch ออกมาขายเป็นเรือนล้าน (ใช้เทคโนโลยี่คว้อตซ์) และทำให้ประเทศสวิสกลับมาอยู่แถวหน้าของการส่งออกนาฬิกาอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อน ๆ มีนาฬิกา Swatch กันสักเรือนแล้วหรือยังคะ? รจนามีอยู่หนึ่งเรือน แต่หายไปตอนเดินทางไปศรีลังกาค่ะ ส่วนพ่อบ้านมีอยู่เรือนหนึ่งเหมือนกัน กันน้ำได้ จับเวลาได้ ราคาก็ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาทค่ะ ความสำเร็จของนาฬิกา Swatch ถือเป็นจุดหมุนเปลี่ยนที่สำคัญของนาฬิกาสวิสทั้งหมด ทำให้ผู้ผลิตยี่ห้ออื่น ๆ เกิดความมั่นใจอีกครั้งหนึ่ง
คนที่รู้จักนาฬิกาสวิสย่อมเชื่อถือในคุณภาพอันสูงเยี่ยม (แม้ Swatch จะราคาถูก แต่คุณภาพก็ไม่กระจอกค่ะ ทำอะไรได้หลายอย่าง กันน้ำได้ทุกเรือน มีแบบจับเวลาได้ด้วย) และภาคการส่งออกนาฬิกานั้นติดอันดับสามของประเทศ รองจากการส่งออกเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรม (นับจากมูลค่าการส่งออก)
อย่างที่เล่าไปแล้วว่า นาฬิกาสวิสนั้นมีการส่งออกถึง ๙๕% ของจำนวนที่ผลิต และทำให้สวิตฯเป็นประเทศส่งออกนาฬิกาอันดับหนึ่งของโลก มูลค่าการส่งออกในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ คือ ๙,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์ จำนวนนาฬิกาที่ส่งออกมีประมาณ ๒๕ ล้านเรือน ซึ่งยังน้อยกว่าเมืองจีน (ส่งออก ๑,๐๐๐ ล้านเรือน) และฮ่องกง (ส่งออก ๗๐๐ ล้านเรือน) แต่มูลค่าของนาฬิกาสวิสนั้นสูงกว่าสองประเทศหลังมากมายนัก
กล่าวกันว่า ราคาเฉลี่ยของนาฬิกาส่งออกจากเมืองจีน คือ เรือนละ ๑ ดอลล่าร์ ส่วนของฮ่องกงนั้น ๕ ดอลล่าร์ แต่ค่าของนาฬิกาสวิสนั้นอยู่สุดขั้วอีกด้านค่ะ คือ เฉลี่ยเรือนละ ๓๒๙ ดอลล่าร์ ถือว่าสูงที่สุดในโลก
ตลาดปัจจุบันของนาฬิกาสวิสเน้นอยู่ที่สามทวีป รายแรกลูกค้าใหญ่คือ อเมริกา (๑๗ % ของมูลค่าการส่งออก ปี ๒๐๐๔) รายต่อมา คือ ฮ่องกง ประมาณ ๑๖ % (ถือเป็นจุดส่งผ่านที่สำคัญ ที่มีการส่งออกต่อไปประเทศลูกข่ายด้วย) ลูกค้ารายต่อมา คือ ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จากนั้นก็มีอิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าเอาไว้ขายนักท่องเที่ยวอีกทีนึง (รจนายังไปซื้อนาฬิกาสวิสลองจิ้น Longine ที่สนามบินปารีสเลย - เห็นไหมคะ รู้สึกว่าราคาจะถูกกว่าซื้อที่เจนีวาหน่อยนึง เพราะได้ลดหย่อนภาษี)
กล่าวกันว่าในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ มีประเทศสั่งซื้อสำคัญรวม ๑๕ ประเทศที่ซื้อนาฬิกาสวิสมากกว่า ๘๒ % ของนาฬิกาส่งออกจากสวิตฯค่ะ นาฬิกาสวิสไม่ใช่จะดีเฉพาะคุณภาพอย่างเดียว แต่ยังมีรูปแบบให้เลือกอย่างหลากหลายอีกด้วย ทั้งในแง่เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้า และหน้าตาที่สวยงาม นาฬิกาสวิส ๙๐ % นั้นเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีแบบไขลานเหลืออยู่ประมาณ ๑๐ % แต่เป็น ๑๐ % ที่มีมูลค่าการส่งออกถึงครึ่งนึงของทั้งหมดเลยค่ะ ไม่กระจอกเลย นาฬิการาคาแพงระยับระดับแถวหน้านั้น ถือเป็นนาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากที่สุดของโลกทีเดียว บางเรือนยังแพงกว่าซื้อรถบีเอ็มหนึ่งคันเสียอีก
ตรารับประกันคุณภาพที่เขียนว่า "Swiss made" นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตสวิสหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีการเซ็นสัญญาระดับทวิภาคีและพหุภาคีในระดับสากลเพื่อให้ประเทศสวิตฯสามารถฟ้องร้องคนที่เอาตรานี้ไปลักลอบใช้ (กับนาฬิกาของปลอม เป็นต้น) ค่ะ กล่าวกันว่า หากเราเดินทางเข้าประเทศสวิตฯและด่านตรวจคนเข้าเมืองเขาพิสูจน์ได้ว่า โรเล็กซ์ของเราเป็นของเก๊ เขาสามารถเอาฆ้อนทุบต่อหน้าเราได้เลย (ที่จริงคงไม่ถึงอย่างนั้น แต่หมายความว่าริบได้เลย - ส่วนจะเสียค่าปรับหรือเปล่ารจนายังไม่ทราบค่ะ)
กล่าวโดยสรุป การที่จะมีตราว่า "ผลิตในสวิตฯ" ได้นั้น ส่วนประกอบที่ใช้อาจจะผลิตมาจากต่างประเทศได้บางส่วน แต่จะต้องไม่เกินจำนวน ๕๐ % ของมูลค่าทั้งหมดของส่วนประกอบ และนาฬิกาที่จะเรียกว่า สวิสเม้ด ได้นั้นจะต้องมีการประกอบและตรวจสอบคุณภาพในประเทศสวิตฯเท่านั้นค่ะ
ขอเล่านอกเนื่องนิดนึง ตอนอยู่เมืองไทย พ่อบ้านซื้อคักเทียร์ (Cartier) จากแถวพัฒพงษ์เรือนนึง ก็ใส่เล่นอยู่เรื่อยมา วันหนึ่งเจอช่างนาฬิกาสวิส ที่ทำตัวเรือนคักเทียร์ เขาก็บอกว่า โอ๊ย นาฬิกายี่ห้อนี้หากใครทำปลอมก็ดูออกไม่ยาก พ่อบ้านก็เลยถามว่า งั้นช่วยดูนาฬิกาของฉันได้ไหมว่าของจริงหรือเปล่า เพื่อนก็เอาไปดู ผ่านแว่นขยายเล็ก ๆ แล้วก็ยืนยันขึงขังว่า อันนี้ของจริง พ่อบ้านถามว่า ดูยังไง เพื่อนบอกว่า อ๋อ ให้ดูตรงตัวอักษรโรมันของเลขเจ็ด คือ VII โดยดูที่ขาหลังของตัว V ตรงขาหลังนี้ไม่ใช่เส้นขีดตรง ๆ แต่จะสลักคำว่า Cartier ไว้อย่างแนบเนียน เล็กจนมองเผิน ๆ ไม่ออก ดูเหมือนเป็นเส้นเดียวกันตลอด
ถึงตอนนี้ พ่อบ้านก็เลยเฉลยว่า นาฬิกาเรือนนี้ปลอมร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะซื้อมาจากตลาดนาฬิกาที่พัฒพงษ์จ้ะ เล่นเอาเพื่อนชาวสวิสของเราอึ้งไปเลย แต่จากนั้นมา เรากลับมาครุ่นคิดอีกที ก็อาจเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์จำนวนมากของนาฬิกาสวิสนั้น ทำในต่างประเทศ แล้วเอามาประกอบในสวิตฯ ก็เป็นไปได้ว่า ช่างฮ่องกงหรือไต้หวันหรือจีนแดงทำเอาไว้เกิน ๆ แล้วก็เอาที่เหลือไปประกอบเป็นนาฬิกาขายถูก ๆ ดังนั้น นาฬิกาที่พ่อบ้านมี (ตอนนี้เสียไปแล้ว) ก็คงจะมีอุปกรณ์จริงหลายตัว แต่ไม่ได้ประกอบในสวิตฯ หรือโดยช่างสวิสนอกเรื่องด้วยประการฉะนี้ค่ะ
กลับมาคุยเรื่องนาฬิกาต่อ ในประเทศสวิตฯจะมีงานแสดงอย่างยิ่งใหญ่ปีละสองงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ งานหนึ่งจัดที่เมืองบาเซิ่ล คือ The World Watch and Jewellery Show in Basel ซึ่งมีคนมาชมถึง ๙๐,๐๐๐ คนในช่วงเวลา ๘ วัน (ปี ค.ศ. ๒๐๐๕) ส่วนอีกงานหนึ่งจัดที่เมืองเจนีวาค่ะ ใช้ชื่อว่า the Salon International de la Haute Horlogerie (SIHH) หรือ International Salon for Prestige Watchmaking เป็นการแสดงเฉพาะนาฬิกาชั้นเลิศเท่านั้น โดยแขกที่มาชมจะต้องเป็นผู้ชำนาญการเรื่องนาฬิกาและต้องได้รับเชิญจากบริษัทนาฬิกาที่มาแสดงโดยเฉพาะ ปี ๒๐๐๕ มีคนเข้าชมประมาณ ๑๑,๕๐๐ คน ถือว่า เป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของเจนีวาค่ะ (รองจากงานมอเตอร์โชว์แสดงรถยนต์) งานนี้จะนำเสนอเฉพาะนาฬิการุ่นล่าสุด แบบที่ยอดเยี่ยมที่สุด ทำยากที่สุด ซับซ้อนที่สุด และที่สุดของที่สุดหลาย ๆ อย่าง หรือประเภทมีผลิตออกมาแค่รุ่นเดียว หรือมีแค่เรือนเดียวในโลก ประมาณนั้นค่ะ
นอกจากงานแสดงในประเทศแล้ว ในปี ๒๐๐๓ ก็ยังมีการจัดแสดงนอกประเทศด้วย โดยใช้ธีมของการจัดแสดงว่า "Think Time, Think Swiss Excellence" งานนี้จัดครั้งแรกที่เมืองเซ็นต์ปีเต้อร์สเบิร์ก ตามด้วยบรัสเซลล์ กรุงเทพฯ และมุมไบ (บอมเบย์) ไม่รู้ว่าที่บ้านเรามีใครได้ไปเที่ยวงานที่ว่าบ้างหรือเปล่า ยี่ห้อนาฬิกาสวิสที่น่ารู้จักก็ได้แก่ A Lange & SohneAudemars Piguet (อันนี้เราได้เป็นรางสวัลจับฉลากตอนไปแข่งแรลลี่ที่อินเตอร์ลาเก้น)BVLGARIBedat & Co.Breguet (นโปเลียนเคยสั่งทำนาฬิกายี่ห้อเบรเกะต์นี้ด้วย)Bell & Ross BreitlingCartier (ที่พ่อบ้านไปซื้อของปลอมมาไงคะ)CorumDe GrisogonoEbelEmaSFranck MullerGirard-PerregauxGlycineHarry WinstonIWC (ย่อมาจาก International Watch Company - สุดยอดนาฬิกาดีและแพงอีกยี่ห้อหนึ่ง)Jaeger-LeCoultreLouis Vuitton (อ้าว...นึกว่าทำแต่กระเป๋า)Omega (นี่ก็นาฬิกาประจำใจค่ะ คุณแม่เคยมีเรือนนึง) OrisPanerai (อ่านเผิน ๆ เหมือน พรรณราย นะคะ)Patek Philippe (เขามีมิวเซียมนาฬิกาน่าสนใจค่ะ วันหลังจะพาไปเที่ยว)Prestige Roger DubuisRolex (ยี่ห้อนี้เชื่อว่า ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก???)Scatola Del TempoTag HeuerTudorVintage Rolex Ulysse Nardin Vacheron ConstantinZenith
แต่การผลิตนาฬิกาเริ่มเป็นที่แพร่หลายก็ที่เมืองเจนีวา (บ้านที่สองของรจนา) นี่แหละค่ะ โดยเริ่มในราวศตวรรษที่ ๑๗ โดยช็อง คาลแว็ง (Jean Calvin) ผู้สั่งห้ามการแสดงออกซึ่งความร่ำรวย (มีอย่างนี้ด้วยนิ) และบังคับให้ผู้ผลิตอัญมณีเปลี่ยนจากการทำเครื่องประดับอันล้ำค่าไปหัดทำนาฬิกาแทน
เจนีวาก็เลยกลายเป็นศูนย์กลางของการออกแบบและการตลาดทั้งก่อนและหลังที่จะกลายเป็นประเทศสหพันธรัฐสวิสในปี ค.ศ. ๑๘๑๕ ถึงตอนนั้นการผลิตก็ขยายตัวไปยังมณฑลอื่น ๆ โดยเฉพาะมณฑลนูชาเต็ล (Neuchâtel)
ช่างนาฬิกาสวิสต่างเดินทางไปศึกษาหาความรู้ในประเทศอื่นและไปฝึกทักษะฝีมือด้วย ช่างฝีมือที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คนหนึ่งคือ Abraham-Louis Breguet (1747-1823) เกิดที่นูชาเต็ล ไปอบรมที่แวร์ซายล์ และทำมาหากินในปารีสหลังจากไปอยู่ลอนดอนนานหลายปี เบรเกะต์นี้ถือว่า ผู้ประดิษฐ์นาฬิกาที่ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัยเลยค่ะ แต่รจนาจะไม่เล่ามากไปกว่านี้นะคะ
ช่างประดิษฐ์ชาวสวิส (โดยเฉพาะชาวเจนีวา) ถือว่าอยู่แนวหน้าของการประดิษฐ์คิดค้น และยังทำเป็นพ่อค้าแม่ขายที่เก่งกาจอีกด้วย นับแต่เริ่มทำนาฬิกา ผู้ประดิษฐ์สวิสก็เน้นการส่งออกเป็นหลัก ทำให้มีพ่อค้าที่ชำนาญเรื่องการขายนาฬิกาโดยเฉพาะ (ปัจจุบันนาฬิกาสวิสส่งออกถึง ๙๕ % ของการผลิต)ตอนแรก ๆ ช่างนาฬิกาก็เลียนแบบ (หรือขโมยลิขสิทธิ์) รูปแบบนาฬิกาฝรั่งเศสและอังกฤษค่ะ โดยทำออกมาแบบถูก ๆ แต่ใช้เทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และความเป็นนักการค้าที่เก่งกว่า
พออุตสาหกรรมนาฬิการุ่งเรืองดี ผู้ประดิษฐ์ชาวสวิสก็เลิกเลียนแบบ และหันมาออกแบบเองค่ะ (ตอนหลังมีไทยแลนด์ ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลียนแบบต่อบ้าง เข้าทำนอง กงกรรมกงเกวียน) ชิ้นส่วนนาฬิกาต่าง ๆ นั้นมักจะตามบ้าน (รับเหมา) หรือในโรงงานเล็ก ๆ ในหมู่บ้านรอบมณฑลเจนีวา โดยใช้ระบบที่เรียกว่า "รับงานไปทำที่บ้าน (homeworking)" เหมือนกับบ้านเราเหมือนกันนะคะ ชิ้นส่วนเหล่านี้จะถูกส่งไปให้ช่างฝีมือในเจนีวาเพื่อประกอบเป็นนาฬิกาในที่สุดค่ะ
กล่าวกันว่า ราคาชิ้นส่วนต่าง ๆ ของนาฬิกานั้น มีมูลค่าจิ๊บจ๊อยมาก เมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตทั้งหมด ที่แพงที่สุดก็คือ ค่าแรงงานช่างฝีมือที่ต้องประดิษฐ์ประดอย ใช้เวลาประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ อย่างประณีตที่สุด แม่นยำที่สุด บางครั้งต้องนำชิ้นส่วนที่เล็กจนต้องใช้แว่นขยายประกอบเข้าใจตัวเรือนเล็กจิ๋วหรือบางเฉียบ และนาฬิกาส่วนใหญ่จะใช้ชิ้นส่วน ๒๐๐-๓๐๐ ชิ้น (บางเรือนใช้ถึง ๑,๕๐๐ กว่าชิ้นค่ะ) สิ่งนี้แหละค่ะ ที่ทำให้นาฬิกายี่ห้อดี ๆ ถึงแพงเหลือใจ ไม่ใช่เพราะประดับเพชรประดับทองสักเท่าไร (แต่ก็มีส่วนนิ) .... ช่างฝีมือสวิสนั้นได้ค่าแรงเป็นชั่วโมงค่ะ และชั่วโมงไม่ใช่ร้อยกว่าบาท แต่เป็นพันค่ะ
แต่ก่อนนี้ นาฬิกายังไม่ใช่ของประดับร่างกาย (หรือข้อมือ) แต่เป็นของประดับบ้าน นาฬิกาข้อมือนั้นเพิ่งมาเป็นที่นิยมในศตวรรษที่ ๒๐ นี่เอง แต่ก่อนก็ใช้วิธีห้อยกับสายสร้อย พกในกระเป๋า หรือแขวนไว้กับเข็มขัด เป็นต้น ในสมัยก่อนนั้น นาฬิกาถือเป็นอัญมณีประดับกายพอ ๆ กับเป็นที่บอกเวลาค่ะ
จุดเด่นของนาฬิกาแบบเจนีวาก็คือ การตกแต่งค่ะ ความสวยงามของนาฬิกาสวิส (เจนีวา) นี้ทำให้เครื่องบอกเวลานี้มีความดึงดูดต่อสายตา อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสแซงหน้าอังกฤษในที่สุดในตอนกลางศตวรรษที่ ๑๙ แล้วก็มีคู่แข่งสำคัญที่ช่วงเดียวกัน คือ ช่างประดิษฐ์นาฬิกาอเมริกันที่สามารถผลิตนาฬิกาที่มีความแม่นยำได้ทีละจำนวนมาก ๆ (เหมือนปั๊มออกมา) และชิ้นส่วนต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนได้ คู่แข่งนี้ทำให้การส่งออกนาฬิกาสวิสในช่วงนั้นตกลงถึง ๗๕% ภายในช่วงสิบปี
ด้วยเหตุนี้เองที่ประเทศสวิตฯจึงเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เน้นความแม่นยำ โดยผลิตเครื่องจักรที่มีความสามารถสูง แล้วก็เพิ่มของแถมจูงใจคนซื้อ เช่น มีบอกวันที่และเดือน รวมทั้งจับเวลาได้ บริษัท Rolex เป็นผู้ผลิตนาฬิกาเรือนแรกที่กันน้ำได้ในช่วงทศวรรณ ๑๙๒๐ ค่ะ
พอมาถึงศตวรรษที่ ๒๐ ช่วงแห่งการปฏิวัติด้านนาฬิกา มีการคิดค้นนาฬิกาคว้อตซ์ที่เมืองนูชาเต็ล Neuchâtel (ปี ค.ศ. ๑๙๖๗) แต่ผู้ประดิษฐ์สวิสกลับหัวไม่ไวเท่าไร ปล่อยให้ญี่ปุ่นและอเมริกานำเทคนิคนี้ไปใช้ประโยชน์เสียก่อนอย่างน่าเสียดาย ช่วงนั้น ผู้ประดิษฐ์สวิสมุ่งไปที่การวิจัยและพัฒนาในการสร้างนาฬิกาแบบกลไก (ไขลาน) มากกว่า ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ค่ะ ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสแทบล่มสลายม้วนเสื่อไปจากวงการเลยเลยทีเดียว...และพวกเราเองก็คิดถึงนาฬิกาคว้อตซ์คู่กับนาฬิกาญี่ปุ่นเสียมากกว่า
แต่ดวงยังดีค่ะ ที่ผู้ผลิตชาวสวิสยังรู้ตัวก่อนจะสายเกินไป ได้มีการพยายามปฏิวัติอุตสาหกรรมนาฬิกาเสียใหม่ โดยทำให้นาฬิกานั้นกลายเป็นเครื่องหมายแห่งแฟชั่น มีการออกแบบและผลิตนาฬิการาคาถูก ยี่ห้อ Swatch ออกมาขายเป็นเรือนล้าน (ใช้เทคโนโลยี่คว้อตซ์) และทำให้ประเทศสวิสกลับมาอยู่แถวหน้าของการส่งออกนาฬิกาอีกครั้งหนึ่ง
เพื่อน ๆ มีนาฬิกา Swatch กันสักเรือนแล้วหรือยังคะ? รจนามีอยู่หนึ่งเรือน แต่หายไปตอนเดินทางไปศรีลังกาค่ะ ส่วนพ่อบ้านมีอยู่เรือนหนึ่งเหมือนกัน กันน้ำได้ จับเวลาได้ ราคาก็ประมาณ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ บาทค่ะ ความสำเร็จของนาฬิกา Swatch ถือเป็นจุดหมุนเปลี่ยนที่สำคัญของนาฬิกาสวิสทั้งหมด ทำให้ผู้ผลิตยี่ห้ออื่น ๆ เกิดความมั่นใจอีกครั้งหนึ่ง
คนที่รู้จักนาฬิกาสวิสย่อมเชื่อถือในคุณภาพอันสูงเยี่ยม (แม้ Swatch จะราคาถูก แต่คุณภาพก็ไม่กระจอกค่ะ ทำอะไรได้หลายอย่าง กันน้ำได้ทุกเรือน มีแบบจับเวลาได้ด้วย) และภาคการส่งออกนาฬิกานั้นติดอันดับสามของประเทศ รองจากการส่งออกเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านวิศวกรรม (นับจากมูลค่าการส่งออก)
อย่างที่เล่าไปแล้วว่า นาฬิกาสวิสนั้นมีการส่งออกถึง ๙๕% ของจำนวนที่ผลิต และทำให้สวิตฯเป็นประเทศส่งออกนาฬิกาอันดับหนึ่งของโลก มูลค่าการส่งออกในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ คือ ๙,๐๐๐ ล้านดอลล่าร์ จำนวนนาฬิกาที่ส่งออกมีประมาณ ๒๕ ล้านเรือน ซึ่งยังน้อยกว่าเมืองจีน (ส่งออก ๑,๐๐๐ ล้านเรือน) และฮ่องกง (ส่งออก ๗๐๐ ล้านเรือน) แต่มูลค่าของนาฬิกาสวิสนั้นสูงกว่าสองประเทศหลังมากมายนัก
กล่าวกันว่า ราคาเฉลี่ยของนาฬิกาส่งออกจากเมืองจีน คือ เรือนละ ๑ ดอลล่าร์ ส่วนของฮ่องกงนั้น ๕ ดอลล่าร์ แต่ค่าของนาฬิกาสวิสนั้นอยู่สุดขั้วอีกด้านค่ะ คือ เฉลี่ยเรือนละ ๓๒๙ ดอลล่าร์ ถือว่าสูงที่สุดในโลก
ตลาดปัจจุบันของนาฬิกาสวิสเน้นอยู่ที่สามทวีป รายแรกลูกค้าใหญ่คือ อเมริกา (๑๗ % ของมูลค่าการส่งออก ปี ๒๐๐๔) รายต่อมา คือ ฮ่องกง ประมาณ ๑๖ % (ถือเป็นจุดส่งผ่านที่สำคัญ ที่มีการส่งออกต่อไปประเทศลูกข่ายด้วย) ลูกค้ารายต่อมา คือ ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ จากนั้นก็มีอิตาลี และฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าเอาไว้ขายนักท่องเที่ยวอีกทีนึง (รจนายังไปซื้อนาฬิกาสวิสลองจิ้น Longine ที่สนามบินปารีสเลย - เห็นไหมคะ รู้สึกว่าราคาจะถูกกว่าซื้อที่เจนีวาหน่อยนึง เพราะได้ลดหย่อนภาษี)
กล่าวกันว่าในปี ค.ศ. ๒๐๐๔ มีประเทศสั่งซื้อสำคัญรวม ๑๕ ประเทศที่ซื้อนาฬิกาสวิสมากกว่า ๘๒ % ของนาฬิกาส่งออกจากสวิตฯค่ะ นาฬิกาสวิสไม่ใช่จะดีเฉพาะคุณภาพอย่างเดียว แต่ยังมีรูปแบบให้เลือกอย่างหลากหลายอีกด้วย ทั้งในแง่เทคโนโลยีการผลิตที่ล้ำหน้า และหน้าตาที่สวยงาม นาฬิกาสวิส ๙๐ % นั้นเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีแบบไขลานเหลืออยู่ประมาณ ๑๐ % แต่เป็น ๑๐ % ที่มีมูลค่าการส่งออกถึงครึ่งนึงของทั้งหมดเลยค่ะ ไม่กระจอกเลย นาฬิการาคาแพงระยับระดับแถวหน้านั้น ถือเป็นนาฬิกาที่มีความซับซ้อนมากที่สุดของโลกทีเดียว บางเรือนยังแพงกว่าซื้อรถบีเอ็มหนึ่งคันเสียอีก
ตรารับประกันคุณภาพที่เขียนว่า "Swiss made" นั้นเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตสวิสหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับมีการเซ็นสัญญาระดับทวิภาคีและพหุภาคีในระดับสากลเพื่อให้ประเทศสวิตฯสามารถฟ้องร้องคนที่เอาตรานี้ไปลักลอบใช้ (กับนาฬิกาของปลอม เป็นต้น) ค่ะ กล่าวกันว่า หากเราเดินทางเข้าประเทศสวิตฯและด่านตรวจคนเข้าเมืองเขาพิสูจน์ได้ว่า โรเล็กซ์ของเราเป็นของเก๊ เขาสามารถเอาฆ้อนทุบต่อหน้าเราได้เลย (ที่จริงคงไม่ถึงอย่างนั้น แต่หมายความว่าริบได้เลย - ส่วนจะเสียค่าปรับหรือเปล่ารจนายังไม่ทราบค่ะ)
กล่าวโดยสรุป การที่จะมีตราว่า "ผลิตในสวิตฯ" ได้นั้น ส่วนประกอบที่ใช้อาจจะผลิตมาจากต่างประเทศได้บางส่วน แต่จะต้องไม่เกินจำนวน ๕๐ % ของมูลค่าทั้งหมดของส่วนประกอบ และนาฬิกาที่จะเรียกว่า สวิสเม้ด ได้นั้นจะต้องมีการประกอบและตรวจสอบคุณภาพในประเทศสวิตฯเท่านั้นค่ะ
ขอเล่านอกเนื่องนิดนึง ตอนอยู่เมืองไทย พ่อบ้านซื้อคักเทียร์ (Cartier) จากแถวพัฒพงษ์เรือนนึง ก็ใส่เล่นอยู่เรื่อยมา วันหนึ่งเจอช่างนาฬิกาสวิส ที่ทำตัวเรือนคักเทียร์ เขาก็บอกว่า โอ๊ย นาฬิกายี่ห้อนี้หากใครทำปลอมก็ดูออกไม่ยาก พ่อบ้านก็เลยถามว่า งั้นช่วยดูนาฬิกาของฉันได้ไหมว่าของจริงหรือเปล่า เพื่อนก็เอาไปดู ผ่านแว่นขยายเล็ก ๆ แล้วก็ยืนยันขึงขังว่า อันนี้ของจริง พ่อบ้านถามว่า ดูยังไง เพื่อนบอกว่า อ๋อ ให้ดูตรงตัวอักษรโรมันของเลขเจ็ด คือ VII โดยดูที่ขาหลังของตัว V ตรงขาหลังนี้ไม่ใช่เส้นขีดตรง ๆ แต่จะสลักคำว่า Cartier ไว้อย่างแนบเนียน เล็กจนมองเผิน ๆ ไม่ออก ดูเหมือนเป็นเส้นเดียวกันตลอด
ถึงตอนนี้ พ่อบ้านก็เลยเฉลยว่า นาฬิกาเรือนนี้ปลอมร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะซื้อมาจากตลาดนาฬิกาที่พัฒพงษ์จ้ะ เล่นเอาเพื่อนชาวสวิสของเราอึ้งไปเลย แต่จากนั้นมา เรากลับมาครุ่นคิดอีกที ก็อาจเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์จำนวนมากของนาฬิกาสวิสนั้น ทำในต่างประเทศ แล้วเอามาประกอบในสวิตฯ ก็เป็นไปได้ว่า ช่างฮ่องกงหรือไต้หวันหรือจีนแดงทำเอาไว้เกิน ๆ แล้วก็เอาที่เหลือไปประกอบเป็นนาฬิกาขายถูก ๆ ดังนั้น นาฬิกาที่พ่อบ้านมี (ตอนนี้เสียไปแล้ว) ก็คงจะมีอุปกรณ์จริงหลายตัว แต่ไม่ได้ประกอบในสวิตฯ หรือโดยช่างสวิสนอกเรื่องด้วยประการฉะนี้ค่ะ
กลับมาคุยเรื่องนาฬิกาต่อ ในประเทศสวิตฯจะมีงานแสดงอย่างยิ่งใหญ่ปีละสองงานในช่วงฤดูใบไม้ผลิ งานหนึ่งจัดที่เมืองบาเซิ่ล คือ The World Watch and Jewellery Show in Basel ซึ่งมีคนมาชมถึง ๙๐,๐๐๐ คนในช่วงเวลา ๘ วัน (ปี ค.ศ. ๒๐๐๕) ส่วนอีกงานหนึ่งจัดที่เมืองเจนีวาค่ะ ใช้ชื่อว่า the Salon International de la Haute Horlogerie (SIHH) หรือ International Salon for Prestige Watchmaking เป็นการแสดงเฉพาะนาฬิกาชั้นเลิศเท่านั้น โดยแขกที่มาชมจะต้องเป็นผู้ชำนาญการเรื่องนาฬิกาและต้องได้รับเชิญจากบริษัทนาฬิกาที่มาแสดงโดยเฉพาะ ปี ๒๐๐๕ มีคนเข้าชมประมาณ ๑๑,๕๐๐ คน ถือว่า เป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งของเจนีวาค่ะ (รองจากงานมอเตอร์โชว์แสดงรถยนต์) งานนี้จะนำเสนอเฉพาะนาฬิการุ่นล่าสุด แบบที่ยอดเยี่ยมที่สุด ทำยากที่สุด ซับซ้อนที่สุด และที่สุดของที่สุดหลาย ๆ อย่าง หรือประเภทมีผลิตออกมาแค่รุ่นเดียว หรือมีแค่เรือนเดียวในโลก ประมาณนั้นค่ะ
นอกจากงานแสดงในประเทศแล้ว ในปี ๒๐๐๓ ก็ยังมีการจัดแสดงนอกประเทศด้วย โดยใช้ธีมของการจัดแสดงว่า "Think Time, Think Swiss Excellence" งานนี้จัดครั้งแรกที่เมืองเซ็นต์ปีเต้อร์สเบิร์ก ตามด้วยบรัสเซลล์ กรุงเทพฯ และมุมไบ (บอมเบย์) ไม่รู้ว่าที่บ้านเรามีใครได้ไปเที่ยวงานที่ว่าบ้างหรือเปล่า ยี่ห้อนาฬิกาสวิสที่น่ารู้จักก็ได้แก่ A Lange & SohneAudemars Piguet (อันนี้เราได้เป็นรางสวัลจับฉลากตอนไปแข่งแรลลี่ที่อินเตอร์ลาเก้น)BVLGARIBedat & Co.Breguet (นโปเลียนเคยสั่งทำนาฬิกายี่ห้อเบรเกะต์นี้ด้วย)Bell & Ross BreitlingCartier (ที่พ่อบ้านไปซื้อของปลอมมาไงคะ)CorumDe GrisogonoEbelEmaSFranck MullerGirard-PerregauxGlycineHarry WinstonIWC (ย่อมาจาก International Watch Company - สุดยอดนาฬิกาดีและแพงอีกยี่ห้อหนึ่ง)Jaeger-LeCoultreLouis Vuitton (อ้าว...นึกว่าทำแต่กระเป๋า)Omega (นี่ก็นาฬิกาประจำใจค่ะ คุณแม่เคยมีเรือนนึง) OrisPanerai (อ่านเผิน ๆ เหมือน พรรณราย นะคะ)Patek Philippe (เขามีมิวเซียมนาฬิกาน่าสนใจค่ะ วันหลังจะพาไปเที่ยว)Prestige Roger DubuisRolex (ยี่ห้อนี้เชื่อว่า ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก???)Scatola Del TempoTag HeuerTudorVintage Rolex Ulysse Nardin Vacheron ConstantinZenith
1 ความคิดเห็น:
นาฬิกา, ขายนาฬิกา, ประมูลนาฬิกา
by free play game
แสดงความคิดเห็น