Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เครื่องหมายวรรคตอน

เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเขียนอักษรในภาษาหนึ่ง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแบ่งวรรคตอน มักจะไม่เกี่ยวกับระบบเสียงใด ๆ ทั้งสิ้น
ในแต่ละภาษาจะมีเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ กัน และมีกฎเกณฑ์การใช้ต่าง ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้ภาษานั้น ๆ จะต้องทราบ และใช้ตามกฎที่ปฏิบัติกันมา เพื่อให้มีความเข้าใจในภาษาไปในทางเดียวกัน

เครื่องหมายวรรคตอนของไทย
ในเอกสารโบราณของไทยมีเครื่องหมายวรรคตอนของไทยอยู่หลายตัว และบางตัวนิยมใช้มาถึงปัจจุบัน โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์การใช้งาน ดังนี้
เครื่องหมายกำกับเสียง ได้แก่
ไม้ยมก : ใช้เพื่อซ้ำเสียงเดิม
ทัณฑฆาต : ใช้เพื่อฆ่าเสียง หรือเพื่อไม่ออกเสียงพยัญชนะที่กำกับไว้
ยามักการ : ใช้เพื่อระบุการควบเสียง
เครื่องหมายกำกับวรรคตอน ได้แก่
ไปยาลน้อย : ใช้ย่อคำ
ไปยาลใหญ่ : ใช้ละข้อความ
ฟองมัน : ใช้ขึ้นต้นประโยค หรือบทกลอน
ฟองมันฟันหนู : ใช้ขึ้นต้นข้อความ
อังคั่นเดี่ยว (ขั้นเดี่ยว) : ใช้เขียนเมื่อจบประโยค หรือเป็นเครื่องหมายบอกวันเดือนทางจันทรคติ
อังคั่นคู่ (ขั้นคู่) : ใช้เขียนเมื่อจบข้อความใหญ่ หรือจบตอน
อังคั่นวิสรรชนีย์ : ใช้เขียนเมื่อจบเรื่อง
โคมูตร : ใช้เมื่อสิ้นสุดข้อความ หรือบทกลอน
หรือแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามเกณฑ์ที่มา ดังนี้
เครื่องหมายวรรคตอนที่เป็นของไทยแต่เดิม ได้แก่ ฟองมัน ตาไก่ โคมูตร เป็นต้น
เครื่องหมายวรรตอนที่รับอิทธิพลการเขียนจากต่างประเทศ เช่น จุลภาค มหัพภาค เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น: