Powered By Blogger

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

งู


งู (Snake) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่นงูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืนโดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (Vipers) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่นงูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไปของงู จะทำการลอกคราบเป็นระยะเวลา และจะบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ภายในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต

วิวัฒนาการ
งูเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians) โดยส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ภายในน้ำ อาศัยชีวิตบนบกบ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง มีความสัมพันธ์ทางด้านสายของการวิวัฒนาการร่วมกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น ๆ ที่จัดอยู่ใน ชั้น Reptilia ที่แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้
ลำดับ Testudines
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ เต่าชนิดต่าง ๆ (Turtles และ Tortoises)
ลำดับ Crocodylia
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ จระเข้ (Crocodiles, Alligators และ Gavial)
ลำดับ Rhynchocephalia
สัตว์เลื้อยคลานในลำดับนี้ได้แก่ ตัว Tuatara ของนิวซีแลนด์
ลำดับ Squmata
สามารถแบ่งลำดับของสัตว์เลื้อยคลานใน ลำดับ Squmata ได้ 3 วงศ์ด้วยกัน ดังนี้
Suborder Lacertilia ได้แก้สัตว์เลื้อยคลานประเภทจิ้งจก (Lizards) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 3,000 ชนิด
Suborder Amphisbaenia มีจำนวนประมาณ 130 ชนิด
Suborder Serpentes ได้แก่สัตว์เลื้อยคลานประเภทงู (Snakes) ซึ่งมีจำนวนมาก ประมาณ 2,700 ชนิด

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะโดยทั่วไปของงูคือ มีลำตัวที่กลมยาว สามารถบิดโค้งงอร่างกายได้ ไม่มีหูและไม่มีขา เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเลื้อยด้วยอก งูบางชนิดมีติ่งงอกออกมาคล้ายกับเล็บขนาดเล็ก (Small horn-sheathed claws) ติ่งเล็ก ๆ นี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเปิดอวัยวะเพศ ลักษณะเฉพาะตั้งแต่ศีรษะ คอ อก ช่องท้องรวมทั้งหาง มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน สามารถแบ่งแยกงูได้โดยการใช้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในแต่ละส่วนของขนาดลำตัวเป็นตัวกำหนด ซึ่งในส่วนของขนาดลำตัวจะเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่โตที่สุด
ลักษณะลำตัวของงู จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน โดยมีภาพตัดขวางของลำตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพตัดขวางในรูปแบบวงกลม ภาพตัดขวางในรูปแบบวงรี ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน รวมทั้งภาพตัดขวางในรูปบบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งลักษณะของภาพตัดขวางที่มีความแตกต่างกันนี้เอง จะเป็นตัวกำหนดแหล่งที่อยู่อาศัยของงูในแต่ละชนิดภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือมซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
งูมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด โดยปกติงูจะมีอยู่ชุกชุม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเกือบทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรของงูลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งชนิดของงูนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย เช่นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่รกชื้น


ไม่มีความคิดเห็น: